การควบคุมและกำจัดแมลงวัน และข้อดีข้อเสียแต่ละชนิด
วิธีการควบคุมแมลงวันที่ดีที่สุดคือการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันได้แก่กองขยะ เศษอาหาร หรือมูลสัตว์ตามคอกปศุสัตว์ ซึ่งต้องมีการทำลายอย่างมีระบบไม่ทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีวิธีการกำจัดแมลงวันตัวเต็มวัยโดยใช้กรงดักแมลงวัน ใช้แผ่นกระดาษกาวเหนียวล่อจับแมลงวัน การใช้ลวดไฟฟ้าฆ่าแมลงวัน การใช้ไม้ตีแมลงวัน การใช้เหยื่อพิษ และการใช้ยาฆ่าแมลงเพื่อควบคุมประชากรแมลงวัน
1. ใช้สารเคมี
– การใช้เครื่องพ่นควัน โดยใช้สารเคมีกลุ่ม Organophosphorus หรือ Carbamate ได้แก่ Diazinon, Diflubenzuron, Cyromazine เป็นต้น
– การกำจัดแมลงวันตัวเต็มตามแหล่งเกาะพัก เพื่อลดความชุกชุมของแมลงวัน ด้วยการฉีดพ่นสารเคมี ได้แก่ ไดอะซิโนน (diazinon), เฟนิโทรไทออน (fenitrothion) หรือ พิริมิฟอส-เมทิล (pirimiphos-methyl) เป็นต้น
– การใช้วัสดุห้อยแขวนทาสารเคมี ซึ่งสารมารถกำจัดได้มาก เนื่องจากแมลงวันมีนิสัยชอบเกาะตามวัสดุที่ห้อยแขวนในแนวดิ่ง เช่น ใช้เชือกหรือวัสดุที่เป็นเส้น ยาวประมาณ 1-2 เมตร ทาหรือชุบน้ำตาลผสมสารเคมี เช่น ไดอะซิโนน (diazinon), เฟนิโทรไทออน (fenitrothion) หรือ พิริมิฟอส-เมทิล (pirimiphos-methyl) หลังจากนั้น ทุกๆ 1-2 เดือนให้เปลี่ยนใหม่
– การใช้เหยื่อพิษ วิธีนี้ใช้เหยื่อหรืออาหารที่แมลงวันชอบผสมสารกำจัดแมลง เช่น เศษอาหาร ผลไม้เน่า เนื้อเน่า ผสมกับสารเคมีในข้างต้นที่กล่าวมา
– การฉีดพ่นด้วยสารสกัดสมุนไพรเพื่อกำจัดตัวอ่อนของแมลงวันในระยะต่างๆ เช่น สารสกัดจากส้มป่อย รากหนอนตายหยาก เป็นต้น
– การกำจัดแมลงวันตัวเต็มตามแหล่งเกาะพัก เพื่อลดความชุกชุมของแมลงวัน ด้วยการฉีดพ่นสารเคมี ได้แก่ ไดอะซิโนน (diazinon), เฟนิโทรไทออน (fenitrothion) หรือ พิริมิฟอส-เมทิล (pirimiphos-methyl) เป็นต้น
– การใช้วัสดุห้อยแขวนทาสารเคมี ซึ่งสารมารถกำจัดได้มาก เนื่องจากแมลงวันมีนิสัยชอบเกาะตามวัสดุที่ห้อยแขวนในแนวดิ่ง เช่น ใช้เชือกหรือวัสดุที่เป็นเส้น ยาวประมาณ 1-2 เมตร ทาหรือชุบน้ำตาลผสมสารเคมี เช่น ไดอะซิโนน (diazinon), เฟนิโทรไทออน (fenitrothion) หรือ พิริมิฟอส-เมทิล (pirimiphos-methyl) หลังจากนั้น ทุกๆ 1-2 เดือนให้เปลี่ยนใหม่
– การใช้เหยื่อพิษ วิธีนี้ใช้เหยื่อหรืออาหารที่แมลงวันชอบผสมสารกำจัดแมลง เช่น เศษอาหาร ผลไม้เน่า เนื้อเน่า ผสมกับสารเคมีในข้างต้นที่กล่าวมา
– การฉีดพ่นด้วยสารสกัดสมุนไพรเพื่อกำจัดตัวอ่อนของแมลงวันในระยะต่างๆ เช่น สารสกัดจากส้มป่อย รากหนอนตายหยาก เป็นต้น
2. ควบคุมโดยวิธีกล
เป็นการกำจัดแมลงวันในระยะต่างๆด้วยแรงคนหรือเครื่องมือการจับ เช่น การเก็บหนอน การใช้สวิงจับ การใช้กรงหรือมุ้งตาข่าย การใช้กล่องดักจับ และการใช้ไม้ตีแมลงเป็นต้น
3. การกำจัด และป้องกันด้วยเครื่องมือฟิสิกส์
เป็นการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือประดิษฐ์ที่อาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เช่น คลื่นความร้อน คลื่นเสียง สี และรังสี เพื่อช่วยในการขับไล่หรือป้องกันแมลง เช่น เครื่องไล่แมลงด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องไล่แมลงด้วยคลื่นความถี่สูง เป็นต้น
4. การกำจัดโดยชีววิธี
ใช้แมลงตัวห้ำ (Predators) ที่ชอบจับกินแมลงวัน ทั้งตัวเต็มวัย และระยะตัวหนอนหรือดักแด้ ได้แก่ แมงมุม จิ้งจก คางคก และนก เป็นต้น
ใช้แมลงตัวเบียน (Parasitoids) ที่ชอบวางไข่เป็นหาพะในร่างกายแมลงวันหรือในตัวหนอนแล้วทำให้ตายได้ เช่น แตนเบียน และด้วงก้นกระดก
No comments:
Post a Comment